วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำแข็งขั่วโลกละลาย

ปรากฏการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายเมื่อโลกหมุนเร็ว
      เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองในแต่ละรอบ สิ่งมีชีวิตล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย และถ้าโลกหมุนรอบ
ตัวเองช้าลงหรือเร็วขึ้นก็ย่อมส่งผลต่อโลกทั้งใบ
ในอดีตเมื่อกว่า 4,000 ล้านปีก่อน นักธรณีวิทยามีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าโลกเต็มไปด้วยน้ำทะเล
และหินชั้น(Sedimentary Rock) ที่ถือกำเนิดอยู่ภายใต้น้ำตั้งแต่ยุคนั้น ซึ่งหลักฐานนี้ได้ขัดแย้ง
กับความเชื่อของนักดาราศาสตร์ที่กล่าวไว้ว่าดวงอาทิตย์ในโลกดึกดำบรรพ์มีความสว่างเพียง 70
เปอร์เซ็นต์ของดวงอาทิตย์ในปัจจุบันเท่านั้น แต่มันกลับมีขนาดที่ใหญ่กว่า สาเหตุที่ทำให้เป็นเช่น
นั้นก็เพราะว่าแรงดึงดูดในตัวมันทำให้ขนาดของมันค่อยๆลดลงในขณะที่อุณหภูมิก็สูงขึ้นอย่าง
ช้าๆโลกจึงปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งไม่ใช่น้ำทะเล
จากข้อถกเถียงนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พากันหาคำตอบถึงความเป็นจริง โดยการตั้งสมมติฐานว่า
ภูเขาไฟที่มีอยู่มากมายในอดีตได้ระเบิดพ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมายังอากาศ ซึ่งก๊าซเหล่า
นั้นมีปริมาณมากกว่าปัจจุบันกว่า 1,000 เท่า โลกจึงเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกและมีอากาศ
อบอ้าว อากาศที่อบอุ่นขึ้นนี้ทำให้น้ำแข็งค่อยๆละลาย และกลายเป็นน้ำดังที่นักธรณีวิทยากล่าวไว้
ถึงแม้ว่าสมมติฐานนี้จะค่อนข้างลงรอยกันได้ระหว่างนักดาราศาสตร์ และนักธรณีวิทยา แต่ว่าใน
ส่วน ความเข้มข้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นอาจจะมากเกินไป ดังนั้น G. Jenkins
แห่ง National Center for Atmospheric Research รัฐโคโลลาโด ผู้ที่เสนอว่าปริมาณ
ของก๊าซดังกล่าวน่าจะมากเกินจริง เขาจึงเสนอทฤษฎีใหม่ ว่า อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นมาจากโลก
ในอดีตหมุนเร็วกว่าโลกในปัจจุบันและเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำแข็งละลาย
ตามแบบจำลองของ G. Jenkins โลกในอดีตหมุนรอบตัวเองประมาณ 14 ชั่วโมงต่อ 1 วันแต่ปัจจุบันโลกใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิม คือ 24 ชั่วโมง โดยการหมุนรอบตัวเองของโลกนั้น
เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างดวงจันทร์และน้ำในมหาสมุทร จึงเกิดแรงต้านการหมุนของโลก
เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงการหมุนรอบตัวเอง ผลกระทบต่อสภาวะอากาศจึงตามมา ถ้าหากว่าโลก
เมื่ออดีต ปกคลุมไปด้วยน้ำทะเลและไม่มีแผ่นดินเลย อีกทั้งน้ำที่มีอยู่ยังสามารถสะท้อนแสงจาก
ดวงอาทิตย์ได้น้อยกว่าแผ่นดิน การดูดกลืนจึงทำได้ดีกว่า ส่งผลให้มันเก็บพลังงานแสงอาทิตย์
์สะสมไว้มาก อุณหภูมิของโลกจึงอยู่ในระดับอบอุ่น เพราะพลังงานที่ตัวมันสะสมมีมาก มันก็ย่อม
จะแผ่รังสีออกไปยังชั้นบรรยากาศมากเช่นกัน
ดังนั้นโลกในยุค 4,000 ล้านปีก่อนตามทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์อย่าง G. Jenkins จึงไม่ได้มี
น้ำแข็งปกคลุม ด้วยเหตุที่ว่าโลกหมุนรอบตัวเองเร็วมาก และการหมุนตัวอย่างเร็วนี้ทําให้นํ้าทะเล
มีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำทะเลในปัจจุบันถึง 10 องศาเซลเซียส เมื่ออากาศบริเวณด้านบนสูงก็ย่อมไม่
สามารถทำให้น้ำแข็งตัวได้

ที่มา:
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=677306

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น